ปฏิเสธไม่ได้ว่า “การหลับในขณะขับขี่” เป็นสาเหตุหลักที่สำคัญ และสะท้อนให้เห็นว่ากลุ่มผู้ขับรถระยะทางไกล ไม่ว่าจะเป็นรถโดยสารสาธารณะ รถบรรทุก กลายเป็นกลุ่มเสี่ยงหลักของการเกิดอุบัติเหตุลักษณะนี้มากกว่ากลุ่มผู้ใช้รถประเภทอื่นๆ โดยสาเหตุ “การหลับใน” เกิดได้จากโรคประจำตัวหรือร่างกายที่ไม่ได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะ “ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ” (Sleep Apnea) ถือเป็นหนึ่งสาเหตุสำคัญของการเกิดอุบัติเหตุหลับใน
วัตถุประสงค์
- เพื่อศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์และผลกระทบของโรคหยุดหายใจขณะหลับกับโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุทางถนน
- เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุและเสียชีวิตอันเนื่องมาจากผลกระทบจากโรคหยุดหายใจขณะหลับ
ขอบเขตการศึกษา
1. แบบสอบถาม STOP-Bang Questionnaire เพื่อตรวจคัดกรองผู้ที่มีภาวะของโรคหยุดหายใจขณะหลับ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานขับรถโดยสารสาธารณะ และพนักงานขับรถบรรทุก จำนวน 237 ราย
2. การตรวจ Polysomnography Test (PSG) หรือ Sleep Test เพื่อใช้ในการตรวจวัดการหายใจ คลื่นสมอง และการเคลื่อนไหวแขนและขาขณะนอนหลับตลอดคืน ถือเป็นการตรวจวินิจฉัยที่เป็นมาตรฐานและมีความแม่นยำสูงที่สามารถใช้บอกความรุนแรงของภาวะหยุดหายใจขณะหลับของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 40 ราย
3. การทดสอบจำลองการขับขี่ยานพาหนะด้วยเครื่อง Driving Simulator เพื่อวัดประสิทธิภาพการขับขี่ด้วยสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ที่เสมือนจริง
ผลการศึกษา
ปัจจัยที่ส่งผลต่อโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุเพิ่มสูงขึ้นในกลุ่มผู้ขับขี่ มีดังนี้
ด้านภาพรวม
- การขับรถที่ไม่เสถียร ยิ่งส่งผลต่อความสามารถรักษาตำแหน่งในเลนในขณะขับรถ (Lateral Position) ที่ไม่คงที่
ด้านภาวะความเหนื่อยล้าสะสม
- ความไม่เสถียรต่อการรักษาตำแหน่งในเลนในขณะขับรถที่มากขึ้น
- ภาวะหยุดหายใจขณะหลับในระดับที่รุนแรงเพิ่มขึ้น
- มีจำนวนครั้งการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่มากขึ้น
- ความอิ่มตัวออกซิเจนในเลือดต่ำลง
ผู้รับผิดชอบโครงการ : | ศ.ดร.กัณวีร์ กนิษฐ์พงศ์ และคณะ, ศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย |
ผู้สนับสนุน : | มูลนิธิไทยโรดส์ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) |
ปีที่เผยแพร่ : | 2565 |
เอกสารเผยแพร่ : |
รายงานผลการศึกษา |